Thursday, January 30, 2014

เทคนิคการตั้งเสียงกระเดื่องเบื้องต้น

เทคนิคการตั้งเสียงกระเดื่องเบื้องต้น


ผมขอแบ่งเป็น 4 เรื่องหลักๆ นะครับ ขอตัดประเด็นเรื่อง ตัวถังกลอง และ เทคนิคการเล่น หรือเนื้อไม้ออกไปนะครับ

1. หนังกลอง
2. การจูนเสียง และการตั้ง Bass Drum
3. การซับเสียง
4. กระเดื่อง



หนังกลอง
หนังกลองเป็น สิ่งที่มีผลกระทบมากที่สุดครับ เพราะเป็นแหล่งกำเนิดเสียงโดยตรง หนังแบ่งเป็นสองชนิดคือ Batter Head (หนังด้านที่เหยียบ) กับ Resonance Head (หนังด้านที่หันออกข้างหน้า) โดยหนัง Batter Head จะมีผลมากกว่าหนัง Resonance Head ครับ ปกติแล้ว ถ้าต้องการเสียงแบบปานกลาง สามารถเล่นได้หลากหลายแนว ก็เลือกหนัง Batter Head แบบที่เค้าใช้กันธรรมดาทั่วไป พวกหนังชั้นเดียวหนาๆ หรือหนังสองชั้น ฯลฯ (ตอนนี้ แก่แล้ว จำยี่ห้อชื่อรุ่นไม่ค่อยได้แล้วครับ)

ปกติแล้ว หนัง Batter Head ที่แถมมากับกลองชุดเลย จะเป็นหนังใสชั้นเดียว แบบ ความหนาบาง ถึง ปานกลาง ซึ่งให้เนื้อเสียงที่ไม่ค่อยเต็มซักเท่าไหร่ แต่ หนัง Resonance Head ไม่ค่อยซีเรียสมาก สามารถใช้ของที่มากับกลองชุดได้ครับ

การจูนเสียง
สำหรับการจูนเสียงก็เป็นปัจจัยสำคัญ ที่รองลงมาครับ ไม่มีสูตรตายตัว แล้วแต่ความถนัดของแต่ละบุคคล... ปกติแล้ว สำหรับ Batter Head ผมจะเริ่มจากการไขหนังกลอง ให้สัมผัสกับขอบกลองโดยรอบโดยไม่มี แรงกด แล้วจากตำแหน่งนั้น ผมจะไขเข้าไป ประมาณครึ่งรอบครับ ค่อยๆ ไล่ไขตามสูตรการจูนกลองปกติ 1 รอบ จากนั้น ผมจะไล่คลายแล้วไขครึ่งรอบใหม่ ทีละหลัก อีก 1 รอบ แล้วลองดูว่า ตึงมากไปหรือน้อยไป โดยการกดด้วยมือ และลองเหยียบด้วยกระเดื่อง จากนั้นจะค่อยๆ ปรับทีละ 1/8 หรือ 1/4 รอบ ครับ

หนังด้าน Resonance Head ผมก้อปรับไม่ค่อยเป็นเหมือนกัน เอาเป็นว่า ผมก้อจะไขตึงพอๆ กันกับ Batter Head หนะครับ เพราะว่า มันก้อฟังค่อนข้างยากเหมือนกัน แหะๆๆ แต่การเจาะรูหนัง Resonance Head นี่ มีผลเยอะครับ ถ้าไม่เจาะเนี่ย มันจะให้เสียงที่เต็ม และหางเสียงยาวขึ้น แต่ว่าเล่นได้ยากขึ้น เพราะจะมีแรงสะท้อนที่หัวกระเดื่อง เยอะ เวลาเล่น เพราะว่า มันจะเหมือนกับกลองทอม

โดยทั่วไปเลย การเจาะรู เพื่อสำหรับจับไมค์ และมันลดแรงสะท้อนที่หัวกระเดื่องไปในตัวด ้วยครับ แต่ว่าการเจาะที่ดี ไม่ควรเจาะรูใหญ่มาก ปกติ จะเจาะรูวงกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-6 นิ้ว โดยไม่เจาะตรงกลางหนังครับ มักจะเอียงมาด้านใดด้านหนึ่ง เพราะว่า หนังบริเวณกลางนั้น ทำหน้าที่อุ้มแรงสะท้อนที่มาจากหนัง Batter Head ขณะเหยียบ ทำให้เกิดเนื้อเสียงที่อิ่มขึ้น ถ้าเจาะหนังตรงกลางออกไป ในบริเวณที่ หัวกระเดื่องส่งแรงผ่านมา ก้อจะทำให้เสียงแห้งลงไปครับ

มีอีกนิดนึงครับผม การตั้งตัวถัง Bass Drum ควรจะให้ ตัวถังด้านหน้า ลอยจากพื้นขึ้นมานิดนึงครับ โดยยื่นขาหยั่งให้ตัวถังลอยขึ้นมา จะทำให้การสั่นสะเทือนของตัวถังกลองดีขึ้น ซึ่งมีผลกับเสียงที่อิ่มขึ้นครับ

การซับเสียง
การซับเสียงจริงๆ แล้วจะใช้ในกรณีที่ ต้องการตัด หรือลดเสียง Overtone ที่เราไม่ต้องการออกไป ครับ... ซึ่งหมายความว่า เราจะซับเสียงต่อเมื่อมีเสียงที่ไม่ต้องการอย ู่ และซับเท่าที่เราต้องการลดมันจริงๆ การซับเสียงที่มากเกินจำเป็น จะทำให้เสียงห้วน และเบาลง ทำให้ Acoustic Balance (สมดุลของเสียง โดยไม่ผ่านระบบขยายเสียง) ในชุดกลองเสียไปครับ

ทั้งนี้ การซับเสียงโดยทั่วไป ยังคงหมายรวมถึง การแต่งเสียงกลองให้ เข้าระบบขยายเสียง และอัดเสียงได้ง่าย เนื่องจากหางเสียงที่เกินมา สามารถตัดออกได้ยาก แต่ หัวเสียงที่ขาดๆ มา สามารถเติมให้อิ่มได้มากขึ้น โดยคนไทยจะนิยมมาก ซึ่งจริงๆ แล้วค่อนข้างจะผิดหลักการของ Sound Engineer ซักหน่อย คือ พยายามขยายเสียงจริงให้ออกมาเหมือนธรรมชาติมากที่สุด ซึ่งบางค รั้งมันไม่ค่อยตึ๊บสะใจวัยรุ่นเท่าไหร่ 

บางครั้งเราจะรู้สึกว่า เสียงกระเดื่องตึ๊บมาก แต่ไม่สอดคล้องกับเสียงทอมเลย พอเล่นออกมาจริงๆ จะทำให้ไม่ได้อารมณ์เท่าที่ควร แต่เค้าก้อจ ะมีวิธีแก้ปัญหาที่ปลายเหตุกันก้อคือ เพิ่มเสียง Bass Drum เข้าไปใน Monitor ของมือกลองหนะครับ

พล่ามมายืดยาว เข้าประเด็นดีกว่า 55555 ปกติแล้ว เสียง Overtone ที่เราต้องการลด มันมักจะเกิดจากบริเวณขอบหนังกลอง ที่สัมผัสกับขอบกลองนั่นแหละครับ ฉะนั้น การนำวัสดุซับเสียงทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น ผ้าห่ม ผ้านวม ฟองน้ำ ฯลฯ บุในตัวถังกลอง และสัมผัสบริเวณนั้น โดยรอบ จะตรงประเด็นมากที่สุดครับ โดยปกติผมจะใช้ผ้าห่มธรรมดา ที่ไม่ใช่ผ้านวม (เพราะผ้านวมมันฟูเกินไป และบังคับรูปร่างได้ยากกว่า) พับแล้วม้วน เป็นแท่งกลม ยาวประมาณ 1 เมตร แล้วบุบริเวญ Batter Head โค้งโดยรอบขอบกลองด้านล่าง ก้อจะได้ประมาณ ครึ่งตัวถังพอดีครับ

หรือถ้าง่ายกว่า คือ สั่งตัดฟองน้ำ หนาประมาณ 5 cm กว้างประมาณ 50 - 80 cm ยาวเท่ากับความลึกของตัวถังกระเดื่อง แล้วบุโค้งๆ เหมือนกัน โดยให้หน้าตัดฟองน้ำ ชนกับหนังทั้งสองด้าน ก้อจะช่วยซับเสียงได้ดีพอสมควรครับ

พยายามหลีกเลี่ยง การยัดวัสดุซับเสียงที่มีขนาดใหญ่ แล้วขวาง ทางวิ่งของแรงกดของหัวกระเดื่องจาก Batter Head ไปที่ Resonance Head นะครับ มันทำให้เสียงตึ๊บ จากตำแหน่งคนเล่นจริง แต่ว่า เสียง Balance โดยรวมจะแย่ลง เนื่องจากปริมาตรว่างในตัวถังกลอง มีผลโดยตรงกับความดังของเสี ยง นอกจากนั้น ถ้าวัสดุซับเสียงไม่สัมผัสกับขอบหนังกลองโดยตรง ก้อยังมีโอกาสเกิด Overtone ที่ไม่ต้องการอยู่ครับ

(หนังกลองมีความสำคัญต่อเสียงมากกว่า แต่ไหงอธิบายเรื่องการซับเสียงยาวกว่าหละเนี่ย 5555)

กระเดื่อง
มาถึงประเด็นที่บางคนมองข้ามไปนะครับ บางทีหัวกระเดื่องเองก้อ มีผลกับเสียงได้พอสมควรเหมือนกัน ขอตัดเรื่องการจูนน้ำหนักสปร ิง และเทคนิคการเหยียบนะครับ เอาหัวกระเดื่องอย่างเดียว หัวกระเดื่องที่ดี ควรจะมีน้ำหนักพอประมาณครับ สำหรับหัวกระเดื่องบางรุ่นที่มีดี ไซน์ทันสมัย แต่หัวกระเดื่องมีน้ำหนักเบา ทำให้ขาดความลึกของเสียงไปครับ

พื้นที่หน้าตัดของหัวกระเดื่องที่สัมผัสกับหนังกลอง จะมีผลกับ ควาอ้วนของหัวเสียงครับ ถ้าเป็นหัวกระเดื่องกลมแบบพิมพ์นิยม จะไม่ค่อยมีปัญหาซักเท่าไ หร่ แต่ถ้า เป็นหัวกระเดื่องหน้าตัดแบน บางรุ่น ถ้าตั้งหัวกระเดื่องเอียงไปนิดเดียว จะทำให้พื้นที่หน้าตัดลดลงอย่างมาก (เหลือแต่ขอบๆ ที่จิกโดนหนังกลอง) จะทำให้หัวเสียงบางลงมาก

วัสดุ ที่ใช้ทำหัวกระเดื่อง ก้อมีผลกับเสียงเหมือนกันครับ วัสดุ ที่นิ่มกว่า ก้อจะให้เสียงที่นิ่มกว่า แต่ถ้าใช้หัวยาง จะทำให้เสียงแข็งขึ้นมา และให้ระวัง หัวกระเดื่องจะกินหนังกลองด้วยครับ หัวกระเดื่องบางรุ่นทำจากไ ม้ครับ ได้น้ำหนัก กับอารมณ์ไปอีกแบบนึง

หัวกระเดื่องที่ผมใช้อยู่ ยี่ห้อ Danmar รุ่นธรรมดาครับ เป็นยี่ห้อที่เค้านิยมใช้กันมาก ไม่ว่าจะใช้กระเดื่องยี่ห้ออะ ไรก้อตาม ให้น้ำหนักเสียงที่ดี และน้ำหนักการเล่นที่ดีครับ

Credit By Kyopi Vintage
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก www.easydrums.com

No comments:

Post a Comment