Saturday, March 1, 2014

ตั้งเสียงกลอง

ตั้งเสียงกลอง

การตั้งเสียงกลองเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายอย่างดังนี้ ความตึงของหนังกลองด้านบน(Batter Head) ความตึงของหนังกลองด้านล่าง(Resonant Head) ความสัมพันธ์ระหว่าความตึงของหนังด้านบนและด้านล่าง ประเภทของหนังกลอง ประเภทของตัวถังกลอง การลดเสียงก้องจากหนังหรือตัวถัง 

เมื่อคุณจูนเสียงกลอง คุณกำลังตั้งให้ได้เสียงที่มีระดับสูงสุดหรือต่ำสุด ให้ได้น้ำเสียงที่ใสหรือเสียงที่ทุ้มต่ำ เพื่อให้เสียงดัง หรือเพื่อให้เกิดเสียงก้องกังวาลเกิดResonant ดังนั้นเพื่อให้เกิดเสียงที่มีคุณภาพ คุณต้องจัดการกับหนังทั้งสองด้านให้ดี ความลึกของตัวถัง และเส้นผ่าศูนย์กลางจะมีผลต่อการจูนเสียง โดยความลึกให้เสียงที่นุ่มและการเกิด Resonant รวมถึงความดังและความชัดเจนที่ดี ขณะที่ตัวถังบางให้เสียงที่สั้นและเกิดเสียงตอบสนองการตีได้เร็วกว่า ส่วนเส้นผ่าศูนย์กลางของตัวถังมีผลต่อระดับเสียงคือยิ่งเส้นผ่าศูนย์กลางที่ยาวย่อมให้เสียงที่ต่ำกว่า หนังกลอง กลองทุกชุดต้องมีหนังอย่างน้อย ด้าน กลองที่มีหนังด้านเดียวจะให้เสียงที่แห้งๆ ลัษณะกระแทกๆ หนังส่วนที่เราตีเรียกว่าBatter ส่วนที่ไม่ได้ตีเรียกว่า Resonant หรือเรียกว่าหนังด้านบนหรือด้านล่างก็ได้ หนังกลองเป็นแหล่งกำเนิดเสียงด่านแรกของกลอง ดังนั้นการเลือกใช้ให้เหมาะสม และการจูนเสียงเป็นสิ่งที่สำคัญ เช่นเดียวกันกับตัวถัง และโครงสร้างอื่นของกลอง มีผู้เชี่ยวชาญบางคนพูดว่า85% ของเสียงกลองมาจากหนัง ดังนั้นการเลือกใช้ที่ผิดจะทำให้เสียงของกลองคุณไม่ประทับใจครับ หนังกลองในปัจจุบันทำจากMylar ซึ่งเป็นพลาสติกชนิดหนึ่ง ย้อนไปในอดีตหนังกลองส่วนใหญ่ทำจากหนังสัตว์เช่น ลูกวัว ช้าง แกะ ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่ามีจุดอ่อนที่เสียงเพี้ยนง่ายเมื่อเจอความชื้นของอากาศ ทำให้ต้องมีการจูนเสียงบ่อยๆ ขณะที่พลาสติก มีคุณสมบัติที่ทนทานกว่าและเสียงไม่เพี้ยน บริษัทผู้ผลิตหนังกลองใหญ่ในปัจจุบันคือ Remo, Evans ,Ludwig โดยมีการผลิตหนังในประเภทและขนาดต่างๆกันสามารถจำแนกได้ดังนี้ หนังชั้นเดียวอย่างบาง เป็นหนังที่มี Mylar ชั้นเดียว เป็นหนังที่บางที่สุด ตัวอย่างรุ่นเช่น Remo Diplomats ซึ่งเราจะใช้ไว้เป็นหนังด้านล่าง เพื่อให้เกิด Resonant หนังชั้นเดียว เป็นหนังที่มี Mylar ชั้นเดียว ให้เสียงที่คมชัดเจน และให้เสียงที่สั่นออกมาดี แต่ไม่ค่อยทนทาน ไม่เหมาะกับคนที่เล่นเพลงหนักๆ หนังประเภทนี้ได้แก่ Remo Ambassadors และEvans G1s ซึ่งเป็นหนังยอดนิยมที่ใช้ในห้องอัดเสียงหรือการใช้ไมค์มิกซ์เสียง หนังสองชั้น เป็นหนังที่มี Mylar 2 ชั้น หนังที่หนาขึ้นทำให้เสียงที่เกิดมีลักษณะที่แห้งกว่า เสียงสั้นน้อยกว่า แต่มีความคงทนเหมาะกับการเล่นเพลงแนวร๊อค หนังประเภทนี้ได้แก่ Remo Emperors และEvans G2s

Muffled 
เป็นหนังที่เหมาะกับงานหนักที่สุด ให้ลักษณะเสียงที่สุขุมแต่ไม่ค่อยมีน้ำหนักเท่าไหร่อาจเป็นเพราะโครงสร้างภายในที่ถูกผลิตขึ้นมา หนังประเภทนี้ได้แก่ Remo Pinstripes หรือEvans Genera HD ไฮดรอลิก เป็นหนังสองชั้นแต่มีชั้นน้ำมันอยู่ตรงกลาง ให้เสียงที่มีลักษณะอ้วนที่สุด มีความทนทาน ถ้าชอบเสียงแบบนี้ก็ต้องมองหา Evans Hydraulic ซึ่งบริษัทนี้ค่อนข้างมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในการผลิตหนังประเทภนี้ นอกจากนั้นหนังกลองยังมีประเภทเคลือบกับไม่เคลือบอีก หนังกลองเคลือบมีพื้นผิวที่หยาบกว่าช่วยลดเสียง Overtone ให้น้อยลง ให้เสียงที่มนๆกว่าไม่เคลือบ หนังเคลือบเหมาะกับการเล่นด้วยแส้ ส่วนในใบอื่นๆเช่นทอม ที่ไม่ค่อยใช้แส้ตี คุณอาจใช้หนังที่ไม่ต้องเคลือบก็ได้
เมื่อใดที่ต้องเปลี่ยนหนัง ถ้าหนังกลองของคุณไม่สามารถจูนเสียงได้อีกแล้ว ก็ถึงเวลาต้องเปลี่ยน หรือที่เรียกว่าหนังมันตายแล้ว และต้องเปลี่ยนบ่อยแค่ไหน คำตอบคือมันขึ้นอยู่กับว่าคุณใช้งานหนังกลองมากแค่ไหน และขึงหนังตึงแค่ไหน ลองดูสัญญานที่บ่งบอกว่าถึงเวลานั้นแล้ว เมื่อส่วนที่เคลือบหนังไว้เริ่มหลุดออก เมื่อเกิดร่องลอยบนหนัง เมื่อหนังเมื่อถอดออกแล้วเกิดการบิดเบี้ยว เมื่อไม่สามารถจูนเสียงได้แล้ว โดยเฉพาะเสียงต่ำ เมื่อคุณตีแล้วเสียงไม่ค่อยออก เมื่อหนังเกิดหลุมจากการตี ลองดูไกไลด์ตรงนี้ครับ ตารางนี้เป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่ใช้งานหนัก กลองถูกตีวันละหลายชั่วโมง ถ้าคุณเล่นวันละไม่มากวันละไม่กี่ชั่วโมง อาจยืดระยะเวลาออกไปจากนี้ หนังสแนร์บน เปลี่ยนทุกเดือน หนังสแนร์ด้านล่าง เปลี่ยนทุกสามเดือน หนังกลองใหญ่ด้านที่ตี เปลี่ยนทุกสามถึงหกเดือน หนังกลองใหญ่ด้านหน้า เปลี่ยนปีละครั้ง หนังกลองทอมด้านบน เปลี่ยนทุกสามถึงหกเดือน หนังกลองทอมด้านล่าง เปลี่ยนปีละครั้ง เมื่อต้องเปลี่ยนหนังกลอง คุณควรปฎิบัติตามขั้นตอนดังนี้ครับ
1.
ถอดหนังอันเก่าออก
2.
ทำความสะอาดภายในกลองด้านใน ด้วยการเช็ดฝุ่น และคราบเปื้อนต่างๆออก
3.
ค่อยๆใส่หนังกลองอันใหม่ลง ให้แนบสนิทกับตัวถัง
4.
ใส่กรอบครอบหนัง
5.
ใส่น๊อตลงบนLug ใช้แค่มือหมุนก่อนนะครับ
6.
ใช้กุญแจกลองค่อยขันน๊อตให้แน่น(วิธีการขันจะพูดในช่วงต่อไป)
7.
ปรับหนังให้แน่นกระชับกับตัวถัง ระหว่างนี้อาจเกิดเสียงกร๊อบแก๊บ ซึ่งเป็นธรรมชาติของหนังที่ปรับตัวตามความตึงที่เพิ่มขึ้น
8.
การจูนเสียงให้ถูกต้อง(จะพูดในช่วงต่อไป)

การตั้งเสียงกลอง วิธีจูนเสียงกลองนั้นเหมือนกันในทุกๆใบ ไม่ว่าจะเป็นทอม สแนร์ หรือBass drum แต่สแนร์นั้นอาจมีวิธีจูนที่เป็นเอกภาพต่างหาก จะพูดต่อไปในอนาคตต่างหากครับ หนังด้านบนมีไว้ถูกตีให้เกิดเสียงด้วยการสั่น ขณะที่หนังด้านล่างช่วยให้เกิดการResonant เกิดเสียงOvertone ดังนั้นหนังด้านล่างจึงมีความสำคัญไม่น้อยกว่าด้านบนเช่นกัน ในขณะที่จูนเสียงคุณต้องใช้กุญแจปรับความตึงของหนัง หนังยิ่งตึงยิ่งให้เสียงที่สูงขึ้น การขันน๊อตไม่ควรขันเรียงลำดับกันไป และไม่ควรขันให้แน่นในทีเดียว ควรเริ่มจากตำแหน่งที่หนึ่ง แต่ไม่ใช้ขันไล่ไปทวนเข็มหรือตามเข็มนาฬิกา แต่ตัวต่อไปต้องไขในตำแหน่งตรงกันข้ามกับตัวแรกด้วยแรงบิดที่เท่ากัน แล้วทำด้วยวิธีเดียวกันไปเรื่อยๆกับน๊อตที่เหลืออยู่ จนกลับมาที่น๊อตตัวแรกค่อยขันให้แน่นขึ้น แล้วขันไปในแรงบิดที่เท่ากันจนครบทุกตัว จากนั้นค่อยๆปรับหนังให้ตึงเท่าๆกัน ไม่มีตรงไหนหย่น ลองตีแล้วแล้วให้เสียงที่ต่ำๆเท่ากัน จากนั้นค่อยๆขันน๊อตขึ้นประมาณ1/4 รอบจนได้เสียงที่ถูกใจ ในส่วนหนังด้านล่างใช้วิธีการจูนเช่นเดียวกัน แต่จะต้องสัมพันธ์กับหนังด้านบน ซึ่งอาจจูนให้ได้ระดับเสียงที่ เท่ากับ สูงกว่า หรือต่ำกว่าหนังด้านบนก็ได้ คุณต้องลองตั้งดูแล้วเลือกเสียงที่ชอบครับเมื่อจูนเสียงได้แล้ว ก็จูนใบอื่นๆอีกให้เข้ากัน โดยทั่วไปกลองใบเล็กจะให้เสียงที่สูงกว่าใบใหญ่ คุณต้องตั้งเสียงกลองให้มีระดับเสียงที่ต่างกัน ซึ่งทอมแต่ละใบควรตั้งให้เสียงต่างกันเป็นคู่สามหรือคู่สี่ (คือเสียง โดกับมี หรือโดกับฟา) ซึ่งคุณควรทราบว่าการตั้งเสียงกลองไม่มีถูกหรือผิด มือกลองแต่ละคนมีวิธีต่างกัน การตั้งเสียงกลองที่สูงไป เสียงกลองจะไม่เป็นธรรมชาติ เสียงไม่ออก ตรงกันข้ามถ้าตั้งต่ำเกินไปเสียงจะหายไป ได้เสียงหย่อนๆยานๆ คุณจำเป็นต้องจูนให้ได้ในตำแหน่งที่ไพเราะของกลองชุดนั้นด้วยหูของคุณเอง การลดเสียงก้องของกลอง เสียงกลองเกิดจากResonant ของตัวถังและหนัง มือกลองบางคนชอบให้กลองออกเสียงก้อง ขณะที่บางคนไม่ชอบแต่ชอบเสียงแห้งๆ ถ้าต้องการแก้ปัญหาเสียงก้องควรจัดการดังนี้
1.
คลายน๊อตที่ขันหนังด้านบนลง 1/4-1/2 รอบ หรืออาจไปขันน๊อตหนังด้านล่างเพิ่มหรือลด การทำทั้งสองแบบนั้นเพื่อให้หนังด้านล่างและบนมีระดับเสียงที่ต่างกัน
2.
เปลี่ยนหนังครับ ถ้าคุณใช้หนังด้านอยู่เป็นชั้นเดียวอยู่ก็เปลี่ยนไปใช้หนังสองชั้น เช่น Remo Pinstripe ถ้ายังไม่พอใจต้องการเสียงที่ก้องน้อยลงอีก ก็ไปใช้Evan Hydraulic หนังน้ำมันเลยครับ และถ้าเสียงที่ได้ยังไม่น่าพอใจอีกก็ต้องใช้เทคนิคการจูนแล้วครับดังนี้
1.
ลองใช้เทปกาวติดบนหนังด้านบนลองใช้ขนาด และตำแหน่งการติดที่ต่างๆกัน การลดเสียงก้องมากๆอาจติดเทปกาวหลายๆชั้น
2.
ลองใช้กระดาษทิสชู ไม่ต้องแน่นครับลองใช้ขนาด และตำแหน่งการติดที่ต่างๆกัน
3.
ใช้แผ่นจูนเสียงที่มีขายอยู่ในท้องตลาดซึ่งทำจาก Mylar ลักษณะเป็นรูปตัวโอ หรืออาจทำเองไม่ต้องซื้อโดยใช้หนังกลองเก่าตัดเป็นตัวโอ การติดบนหนังอาจติดหลายวง หรือติดทับกันหลายๆชั้น
4.
ตัดแผ่นสักหลาดแล้วติดบนหนังทั้งด้านบนหรือด้านล่าง ทดลองดูทั้งสองทาง และขนาดที่ต่างๆกัน
5.
กรณีBass Drum เราใช้หมอนยัดเข้าไปข้างในแต่อย่าให้หมอนติดกับหนังนะครับ ที่กล่าวไปเป็นแค่ไม่กี่วิธีในการจูน ผู้เขียนจำได้ว่าอาจารย์ที่สอนกลองคนแรกจูนเสียงกลองสแนร์Ludwig ของเค้าด้วยการใช้กระเป๋าเงินติดบนหนังซึ่งเสียงที่ได้ก็ดีด้วย สิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักไว้คือการจูนเสียงเพื่อลดเสียงก้องมากไปนั้นไม่ดี เพราะเสียงมันจะเหมือนกับคุณกำลังตีโต๊ะอยู่ เสียงก้องนี่แหละทำให้เสียงกลองเป็นกลอง ดังนั้นจึงต้องให้มีเสียงก้องอยู่แต่ในจำนวนที่น้อย

การจูนเสียงสแนร์ การจูนเสียงสแนร์นั้นต่างจากการจูนเสียงทอมและBass Drum คุณต้องมีปัจจัยพิเศษอย่างหนึ่งที่ต้องพิจารณานั้นคือเจ้าเส้นสแนร์ที่ขึงสัมผัสอยู่กับหนังด้านล่าง (ขอเรียกหนังด้านล่างและเส้นสแนร์รวมว่าSnare Headนะครับ )โดยส่วนใหญ่คุณมักขัน Snare Head ให้ตึงกว่าด้านบน ซึ่งมันจะให้เสียงสดใส กระชับกระเฉง ลดเสียงหึ่งๆที่ไม่ต้องการลง คุณสามารถปรับเสียงสแนร์ได้จากตัวปรับสายสแนร์ โดยถ้าปรับให้สายสแนร์หย่อนไปก็จะได้เสียงที่อึกกระทึกครึกโครม ถ้าแน่นไปเสียงสแนร์ก็จะอุดอู้เสียงไม่ออก คุณต้องปรับให้พอดีอยู่ระหว่างตรงกลางครับ ลองดูเคล็ดลับในการตั้งเสียงสแนร์ตรงนี้ครับ
-
เสียงสแนร์ที่แบน คุณต้องปรับ Snare Head ให้หย่อนที่สุดเท่าที่ทำได้ ขณะที่หนังด้านบนต้องค่อนข้างตึง
-
สำหรับเสียงที่ดังเปรี้ยงปร้าง คุณต้องจูน Snare Headให้สูงกว่าหนังด้านล่าง 2-3 เสียง
-
สำหรับเสียงResonant สูงๆ คุณต้องตั้งหนังด้านบนและSnare Head ให้มีระดับเสียงที่เกือบจะเท่ากัน หรือจูนให้ Snare Head มีระดับเสียงที่สูงกว่าด้านบนเล็กน้อย หลังจากคุณจูนสแนร์ได้เสียงที่เพอร์เฟคแล้ว ปัญหาต่อไปที่คุณจะเจอคือเสียงการสั่นสะเทือนของ สแนร์ หรือเสียงหึ่งที่เกิดขึ้นจากแหล่งกำเนิดเสียงที่มีระดับเสียงเดียวกับเสียงสแนร์ของคุณ อาจเป็นจากกลองใบอื่น หรือเครื่องดนตรีชิ้นอื่นการแก้ปัญหาเสียงหึ่งมีหลายวิธีดังนี้
1.
ตั้งเสียงสแนร์ใหม่ทั้งหมด(การแก้ด้วยวิธีนี้จะเกิดปัญหาที่ตามมากับกลองใบอื่นๆในชุดอีก)
2.
คลายน๊อตที่ขันหนังให้หย่อนลงทั้งด้านบนและด้านล่าง
3.
ใช้ ไพ่หรือกระดาษทิสชู ใส่เข้าไประหว่างหนังด้านล่างและเส้นสแนร์ จากประสบการณ์ของผู้เขียนอยากบอกว่าคุณจะต้องพบกับปัญหาเสียงหึ่งเสมอ แต่อยู่กับระดับที่ต่างกัน ในกรณีการเล่นสดการมิกซ์เสียงอาจช่วยแก้ปัญหาได้ แต่ปัญหาจะหนักขึ้นกรณีในห้องอัดเสียง คุณอาจต้องใช้วิธีแก้ปัญหาที่สุดๆเช่นวิธีที่ที่กล่าวไปข้างต้น การจูนเสียงทอม ขณะที่ไกไลด์ทั่วไปสำหรับการจูนเสียงกลองสามารถประยุกต์ใช้ได้กับทอมใบเล็กหรือใบใหญ่ แต่ยังมีประเด็นเฉพาะที่ต้องกล่าวถึงอีกดังนี้
1.
สำหรับเสียงที่แบน คุณต้องปรับ หนังด้านล่างให้หย่อนกว่าหนังด้านบน
2. 
สำหรับเสียงResonant สูงๆ คุณต้องตั้งหนังด้านบนและด้านล่าง ให้มีระดับเสียงที่เกือบจะเท่ากัน
3.
สำหรับเสียงที่เต็มๆ ดังควรใช้หนังด้านบนเป็นหนังน้ำมันสองชั้น(Hydraulic )
4.
เพื่อให้เกิดเสียงที่ดังมากขึ้นสำหรับหนังด้านบนที่เป็นหนังน้ำมันสองชั้น(Hydraulic ) ควรใช้หนังชั้นเดียวอย่างบางเป็นหนังด้านล่าง
5.
ในการลดเสียง Overtone ที่มากไปขณะที่ยังรักษาเสียงตีที่ดุดัน คุณต้องใช้หนังด้านบนเป็นหนังชั้นเดียว และใช้หนังด้านล่างแบบMuffled
6.
สำหรับเสียงทอมที่เข้ม ขณะที่ยังคงให้เสียง Resonant ต้องเปลี่ยนไปใช้หนังกลองประเภทสีดำทึบทั้งสองด้าน การจูน Bass Drum การเลือกใช้หนังกลองมีผลกระทบต่อเสียงที่เกิดขึ้นของกลอง ลองดูตารางข่างล่างนี้ครับเป็นรายละเอียดของเสียงBass Drum ที่จะเกิดขึ้นแยกตามหนังประเภทต่างๆดังนี้
-
เสียง Bass Drum เปิด มี Resonant สูง ใช้หนังด้านที่เหยียบเป็นชั้นเดียว ไม่ต้องมีอะไรจูนที่หนัง เช่นเดียวกันกับหนังด้านหน้าเป็นชั้นเดียว และไม่ต้องมีอะไรจูนที่หนัง
-
เสียง Bass Drumที่ดุดัน เปิด มีเสียงOvertoneเล็กน้อย ใช้หนังด้านที่เหยียบเป็นชั้นเดียว ต้องมีการจูนที่หนัง ขณะที่หนังด้านหน้าเป็นชั้นเดียว ไม่ต้องมีอะไรจูนที่หนัง
-
เสียง Bass Drumที่ดุดัน เป็นจุด ไม่กระจาย มีเสียงOvertone ที่คุมได้ ใช้หนังด้านที่เหยียบเป็นชั้นเดียว ต้องมีการจูนที่หนัง เช่นเดียวกันกับหนังด้านหน้าเป็นชั้นเดียว และต้องมีการจูนที่หนัง
-
เสียง Bass Drumที่ดุดัน มีเสียงOvertone ที่คุมได้ ใช้หนังด้านที่เหยียบเป็นชั้นเดียว ต้องมีการจูนที่หนัง ขณะที่หนังด้านหน้าใช้เป็นหนัง ชั้น
-
เสียงกระแทกๆ เป็นจุด ไม่มีเสียงOvertone ใช้หนังด้านที่เหยียบเป็นหนัง ชั้น หรือเป็นหนัง Hydraulic ขณะที่หนังด้านหน้าใช้เป็นหนัง ชั้น นอกจากนี้ยังมีประเด็นเพิ่มเติม ในการจูนเสียง Bass Drumดังนี้
-.
ในการจูนให้เกิดระดับเสียงที่สูง ก็จะให้เสียงกลองที่กระแทกๆมากขึ้น
สำหรับเสียงกระแทกที่มากยิ่งขึ้น จูนหนังด้านหน้าให้ตึงกว่าหนังด้านที่เหยียบ
สำหรับเสียงกลองที่ใหญ่ๆ จูนหนังด้านหน้าให้หย่อนมากที่สุดแต่ไม่ถึงขนาดเป็นเสียงแฟล๊บๆ
ถ้าจะลดเสียงOvertone ให้ใส่ ผ้าห่มหรือหมอนเข้าไปในกลอง หรือโดยการติดเทปสักหลาด ตรงกลางของหนังด้านที่เหยียบ
การเจาะรูตรงหนังด้านหน้าเพื่อลดเสียงก้อง ต้องมั่นใจว่ารูดังกล่าวต้องไม่อยู่ตรงจุดกึ่งกลางและเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน นิ้ว
การทำให้เกิดเสียง Resonant ที่มากขึ้นโดยการปรับเดือยที่ Bass Drum ให้กลองยกสูงจากพื้นมากที่สุด จากที่กล่าวไปทั้งหมดเป็นแนวทางที่เป็นไปได้มากที่สุด แต่การจูนเสียงกลองนั้นเป็นศิลปะมากกว่าวิทยาศาสตร์ ดังนั้นสิ่งที่คุณต้องทำคือต้องลองจูนในส่วนผสมที่ต่างๆกัน จากนั้นเลือกส่วนผสมที่ให้เสียงที่ดีที่สุดสำหรับสไตล์เพลงของคุณหรือ ดีที่สุดในสถานะการณ์ขณะนั้น


By: จาก The Complete Idiots Guide to Playing Drums แปล/เรียบเรียงโดยMr.POP

No comments:

Post a Comment